top of page
Isuzu Hock An Tueng อีซูซุฮกอันตึ๊ง
  • รูปภาพนักเขียนHock Tiger

ทะเบียนป้ายแดง กับความเข้าใจผิด ๆ ที่ขับไม่ระวังอาจถูกปรับอ่วม



อย่างที่รู้กันว่าทะเบียนป้ายแดงนั้นเป็นเหมือนสัญลักษ์ของรถยนต์ที่พึ่งออกใหม่ ๆ ดูมีมูลค่า โดดเด่นกว่าป้ายอื่น ๆ ถึงขั้นที่ว่ามียุคหนึ่งที่ผู้ขับขี่นิยมติดป้ายแดงกับรถยนต์หรูจนไปถึงรถยนต์ใช้งานทั่วไป ไม่ยอมใช้ทะเบียนที่จดทะเบียนแล้วมาติด หรือไม่ยอมดำเนินการจดทะเบียน เรียกว่าเป็นการลากป้ายแดงนั่นเอง ซึ่งในวันนี้จะมาย้ำความเข้าใจว่าป้ายแดงจริง ๆ แล้วต่างจากความเข้าใจเดิมอย่างไรบ้างสำหรับผู้ขับขี่ที่พึ่งออกรถยนต์ใหม่ หรือพึ่งขับขี่ยานพาหนะเป็นครั้งแรก


ทะเบียนป้ายแดงไม่ได้มีสิทธิพิเศษใด ๆ บนท้องถนน

หลาย ๆ คนเวลาขับขี่รถยนต์ทะเบียนป้ายแดงมักจะรู้สึกว่ามีสิทธิพิเศษบางอย่างที่ทำให้รถคันอื่น ๆ รู้สึกเกรงใจ ซึ่งจริง ๆ แล้วทะเบียนป้ายแดงมีข้อจำกัดในการขับขี่ทั้งในเรื่องของระยะทางและเวลา แถมจะเป็นเรื่องชวนปวดหัวเวลาต้องใช้รถยนต์เมื่อถึงคราวจำเป็นอีกต่างหาก


จุดประสงค์หลักของทะเบียนป้ายแดง

การติดทะเบียนป้ายแดงพบได้ทั้งผู้จำหน่ายที่เป็นคู่ค้าของบริษัทรถยนต์โดยตรงและผู้จำหน่ายรถยนต์มือสอง มีจุดประสงค์หลัก 2 กรณี คืออนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะกรณีเพื่อขายและเพื่อซ่อม พูดง่าย ๆ ก็คือรถป้ายแดงเป็นรถที่ยังไม่มีการจดทะเบียนถูกต้อง แต่ป้ายแดงที่ติดเป็นเหมือนเอกสารชั่วคราวที่ออกให้ผู้จำหน่ายติดเพื่อใช้งานรถยนต์ในจุดประสงค์เฉพาะเจาะจงภายใต้ข้อจำกัดที่กำหนด เมื่อผู้ขับขี่ซื้อรถยนต์หรือยานพาหนะอื่น ๆ ต้องดำเนินการจดทะเบียนอย่างถูกต้องโดยเร็ว


ป้ายแดงใช้ได้นะ แต่เอกสารห้ามลืมบันทึก ขอบเขต ระยะทาง และเวลาขับขี่ถูกจำกัด

แน่นอนว่าที่กล่าวมาในหัวข้อข้างต้นคือกรอบกฎหมายของทะเบียนป้ายแดงจริง ๆ แต่ทั้งนี้กรอบกฎหมายของทะเบียนป้ายแดงก็ยังมีข้อบังคับและข้ออนุโลมเบื้องต้นดังนี้

  • สมุดคู่มือประจำรถติดรถ ผู้ขับขี่รถป้ายแดงจะต้องบันทึกรายละเอียดการใช้งานรถทุกครั้งที่ขับขี่ ไม่ว่าจะเป็น ชื่อผู้ขับขี่ ยี่ห้อรถ หมายเลขตัวรถหรือหมายเลขเครื่องยนต์ของรถ ระยะเวลาในการใช้งานรถต่อครั้ง และสถานที่จุดหมายปลายทาง เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหากมีการเรียกตรวจ โดยผู้ใช้รถป้ายแดงจะต้องพกสมุดคู่มือติดรถไว้ตลอดเวลา กระทำผิดอาจจะโดนปรับสูงสุด 1,000 บาท

  • ขับขี่ได้เฉพาะในเขตจังหวัดที่ระบุในทะเบียน ตามกฎหมายระบุไว้ว่า รถป้ายแดงสามารถวิ่งได้ภายในเขตที่ระบุอยู่บนป้ายทะเบียนเท่านั้น เช่น ป้ายทะเบียนกรุงเทพฯ ก็สามารถใช้ได้ภายในเขตกรุงเทพฯ เท่านั้น หากมีความจำเป็นที่ต้องใช้งานข้ามเขต จะต้องมีการลงบันทึกการใช้รถอย่างละเอียด ต้องได้รับการอนุญาตจากนายทะเบียนเซ็นกำกับเป็นหลักฐานก่อน ซึ่งจะมีการกำหนดวันกลับอย่างชัดเจนในบันทึกทั้งไปและกลับ โดยปกตินายทะเบียนจะอนุญาตให้ใช้รถป้ายแดงออกนอกเขตพื้นที่ครั้งละไม่เกิน 3 วัน หรือหากมีความจำเป็นไม่เกิน 5 วัน หากฝ่าฝืนจะโดนปรับสูงสุด 10,000 บาท

  • ขับขี่ได้ภายในช่วงเวลากลางวันเท่านั้น รถยนต์ป้ายแดงสามารถขับได้เฉพาะช่วงเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก หรือในช่วงเวลาประมาณ 06.00–18.00 น. เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีการอนุโลมให้วิ่งเพิ่มได้ถึง 20.00 น. เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน หากฝ่าฝืนจะโดนปรับสูงสุด 10,000 บาท

  • ขับขี่ได้ชั่วคราว ให้ดำเนินการจดทะเบียนป้ายขาวภายในระยะเวลา 30 วันนับจากวันที่ได้รับรถ หรือระยะทางการใช้งานไม่เกิน 3,000 กม. หากฝ่าฝืนจะโดนปรับสูงสุด 10,000 บาท


อ้างอิงข้อมูล


bottom of page