top of page
Isuzu Hock An Tueng อีซูซุฮกอันตึ๊ง
  • รูปภาพนักเขียนHock Tiger

5 คำแนะนำ ก่อนเริ่มต้นเป็นนักขับรถปิ๊กอัพขนส่ง รถคอก รถตู้ทึบ ส่งสินค้ามือใหม่

อัปเดตเมื่อ 2 พ.ค.


คำแนะนำก่อนเริ่มต้นขับรถปิ๊กอัพขนส่งสินค้ามือใหม่


ต้องขอบอกว่าในบ้านเรา รถปิ๊กอัพกลายเป็นเพื่อนคู่หูที่เชื่อถือได้สำหรับครอบครัวและธุรกิจมากมาย นอกจากจะเป็นพาหนะแล้วยังใช้สำหรับบรรทุกสิ่งของต่าง ๆ อีกด้วย เป็นเรื่องปกติที่จะเห็นรถปิ๊กอัพไม่ว่าคุณจะไปที่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากภูมิประเทศที่หลากหลายของประเทศของเรา ทั้งภูเขา ที่ราบสูง แม่น้ำ และแก่ง หลายพื้นที่ยังคงมีถนนขรุขระ ทำให้รถปิ๊กอัพเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถดัดแปลงรถปิ๊กอัพเพื่อการค้าเพื่อใช้เป็นช่องทางในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ได้อีกด้วย


หลายคนยังรู้สึกว่ายังไม่พร้อมเริ่มต้นประกอบอาชีพโดยใช้รถปิ๊กอัพ รถคอก รถตู้ทึบ ขนส่งสินค้าไม่รู้ว่าควรเริ่มต้นยังไงดี และควรเตรียมตัวยังไงบ้าง วันนี้เราจะแนะนำ 5 สิ่งที่ควรทราบเบื้องต้นก่อนเริ่มต้นเส้นทางรับวิ่งงานขนส่ง ลองดูว่าตัวเราเองยังขาดสิ่งเหล่านี้อยู่หรือไม่



มีรถปิ๊กอัพก็เริ่มต้นประกอบอาชีพเหล่านี้ได้


มีรถปิ๊กอัพก็เริ่มต้นประกอบอาชีพเหล่านี้ได้

อาชีพจากรถปิ๊กอัพของตัวเอง จริง ๆ แล้วมีตัวเลือกให้เริ่มต้นมากมายขึ้นอยู่กับว่าเราชื่นชอบการทำงานแบบไหน และรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้อาจจะต้องเผื่องบต่อเติมรถยนต์อีกซักหน่อย วันนี้เราจึงรวบรวมอาชีพที่นิยมและคิดว่าน่าจะเป็นแนวทางให้ผู้เป็นเจ้าของรถปิ๊กอัพไว้เป็นตัวเลือกในการตัดสินใจ

  • วิ่งงานรับผัก/ผลไม้ ตามฤดูกาล ซึ่งจะรับมาขายปลีกเองหรือส่งตลาดใหญ่ก็ได้เช่นกัน หากเป็นการส่งตลาดใหญ่จะเป็นการวิ่งรับจากสวนไปส่งตลาดศูนย์กลาง โดยจะมีแต่ละสายสนส่งแตกต่างกันไปในแต่ละภุมิภาคขึ้นอยู่กับว่าเราร่วมงานกับทีมไหน การขนส่งจะเป็นภายในวันหรือคืนนั้น ๆ

  • ค้าขายตามตลาดนัด หากมีรถกระบะอยู่แล้ว “ตลาดนัด” หรืองาน “งานอีเว้นท์” ก็นับว่าเป็นการเปิดโอกาสสำหรับผู้ที่สนใจในการขายของ และพัฒนาตัวเองในเรื่องของการขายได้ดี เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังคงนิยมเดินจับจ่ายใช้สอยตามตลาดนัด หรือเวลามีงานอยู่

  • รับจ้างทั่วไป/ขนของย้ายห้อง/ย้ายบ้าน การบริการรับจ้างขนของทั่วไป รับจ้างขนย้ายบ้าน รับจ้างขนย้ายสำนักงาน ขนย้ายคอนโด ซึ่งหากมีสกิลหรือความสามารถในถอดและติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ภายในสำนักงานของลูกค้าด้วยแล้ว ก็ยิ่งจะทำให้มีความน่าสนใจและสามารถดึงดูดให้ลูกค้าติดต่อจ้างงานได้มากกว่าเจ้าอื่นๆ

  • รถแห่โฆษณา รถแห่โฆษณานี้เองที่เป็นผู้สร้างการรับรู้ และเป็นประตูในการนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดการตอบสนองต่อสินค้าหรือแบรนด์ของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง

  • รถพุ่มพวงขายกับข้าว แม้ปัจจุบันจะเห็นว่ารถขายอาหารสด หรือรถพุ่มพวงมีจำนวนมากขึ้น แต่อาชีพนี้รับรองว่ายังไงก็ไปต่อได้ หากรู้จักการวิ่งเข้าหาแหล่งชุมชนหรือย่านที่พักอาศัย ก็จะสามารถทำรายได้จากรถพุ่มพวงแน่นอน

  • พาร์ทเนอร์กับแอปฯ ขนส่ง พาร์ทเนอร์ผู้ขับจะต้องใช้แอปฯ วิ่งงานสำหรับผู้ขับโดยเฉพาะไว้รับงานจากลูกค้า ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบทั้งร่วมวิ่งงานเป็นครั้งคราวเพื่อหารายได้พิเศษ(Part-time) หรืออาจเป็นผู้ขับรถร่วมที่ประกอบอาชีพเป็นงานประจำไปเลย อันนี้ก็อาจขึ้นอยู่กับความสะดวกของเราด้วยว่าจะเอาแบบไหน


"ลักษณะการทำงาน" สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจและปรับตัว


"ลักษณะการทำงาน" สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจและปรับตัว

ในบางอาชีพคุณอาจได้ใช้ชีวิตกับรถยนต์คู่ใจ บางครั้งเป็นเสมือนบ้านหลังที่สองทั้งกินอยู่และนอนหลับ เนื่องจากต้องรักษาระยะเวลาในการเดินทาง ความรีบเร่งในการขนส่ง รวมไปถึงระยะทางในการเดินทาง ความตรงต่อเวลา การทำงานเป็นทีม การมีสติแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แน่นอนว่าทุกการขับขี่คุณต้องคำนึงถึงสินค้าที่คุณบรรทุกมาโดยไม่ประมาทจนก่อให้เกิดความเสียหาย ต้องใส่ใจการขึ้นสินค้า รู้จักจัดแจงตำแหน่งการกระจายน้ำหนักให้ดี เพราะเมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดที่นอกจากต้องซ่อมแซมรถยนต์ของเราเองแล้วอาจถูกผู้ว่าจ้างปรับค่าสินค้าเสียหายอีกต่างหาก(ถ้าหากไม่มีประกันสินค้า)


ทั้งนี้นั้นขึ้นอยู่กับว่าอาชีพที่เราใช้รถปิ๊กอัพประกอบอาชีพนั้นเป็นอย่างไร บางงานอาจต้องใช้ความชำนาญสูงในการขับขี่เป็นพิเศษ ใช้ทั้งพลังกายพลังใจ บางงานอาจมีปัจจัยความเสี่ยงทั้งในเรื่องความอ่อนไหวของตัวสินค้าและมูลค่าเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือบางงานอาจต้องดำเนินงานได้แค่กลางคืนเท่านั้นและแข่งกับเวลา ดังนั้นลองพิจารณาความพร้อมของตัวเราเองว่าเรารับความเสี่ยงได้มากน้อยขนาดไหน ลองสอบถามเพื่อนร่วมอาชีพหาคำแนะนำดี ๆ คอยนำทางเรา ก็น่าจะช่วยให้เราเริ่มต้นประกอบอาชีพได้มั่นใจยิ่งขึ้น งานที่เราเต็มที่กับมัน หากคุณทำได้ถูกที่ถูกเวลาผลตอบแทนย่อมสมน้ำสมเนื้อกับหยาดเงื่อที่เสียไปแน่นอนครับ


สินค้าที่ถูกขนส่งให้ความสำคัญแตกต่างกันไป


สินค้าที่ถูกขนส่งให้ความสำคัญแตกต่างกันไป

  • พืชผัก/ผลไม้สด หรือพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยส่วนมากมักจะเดินทางขนส่งรวดเดียวให้เร็วที่สุด รีบขึ้นของและรีบลงของ เป็นสินค้าที่บอบบาง เหี่ยวเฉา เสียหายได้ง่าย หากเป็นตอนกลางวันมักต้องถูกคลุมด้วยผ้าใบเพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดด ฤดูฝนอาจต้องใช้วิธีเช่นเดียวกับสินค้าที่เป็นของเหลวบรรจุขวด การดูแลรักษาขึ้นอยู่กับเทคนิคของผู้ขับขี่แต่ละคน

  • วัตถุดิบหรืออาหารแช่เย็น-แช่แข็ง/อาหารทะเล สินค้าประเภทนี้ต้องใช้รถตู้เย็นประเภทเดียวเท่านั้นในการขนย้ายเนื่องจากต้องมีการควบคุมอุณหภุมิตลอดเวลาขนส่ง

  • สินค้าที่เป็นของเหลวบรรจุขวด มีน้ำหนักมาก บางครั้งต้องมีการคลุมปิดทับสินค้าไม่ให้โดนน้ำที่อาจก่อความเสียหายให้สินค้าได้ หรือแม้แต่แสงแดดที่อาจทำให้คุณสมบัติของสินค้าเปลี่ยนแปลง เน่าเสียได้เช่นกัน แต่กรณีที่เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องมีใบอนุญาตและต้องพกติดรถไปด้วย

  • ปุ๋ยหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สินค้าเหล่านี้มักจะบรรทุกไม่เยอะมากเนื่องจากมีน้ำหนักมาก หรือบางชิ้นอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมรถยนต์ไม่ควรสูงหรือยาวเกินกว่ากฎหมายกำหนด

  • ท่อน้ำ/ท่อร้อยสายไฟฟ้า/ท่อโลหะ มันเป็นสินค้าที่มีขนาดใหญ่ไม่ควรสูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด ท่อบางชนิดมีความยาวควรติดสัญญาณเตือนติดด้านปลายหรือส่วนทายของสินค้า มีการมัดขึงที่แน่นหนาไม่ทำให้สินค้าร่วงหล่น

  • เฟอร์นิเจอร์/ข้าวของเครื่องใช้ สินค้าประเภทนี้ต้องรหลีกเลี่ยงการโดนน้ำเนื่องจากเฟอร์นิเจอร์เมื่อโดนน้ำอาจก่อให้เกิดคราบฝังหรือเปื่อยยุ่ยเสียหาย รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้บางประเภทที่อาจเป้นเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นไปได้ควรตรวจสอบสภาพอากาศหรือใช้รถตู้ทึบแห้งในการขนย้าย

  • ยานพาหนะขนาดเล็ก ระมัดระวังเรื่องการยึดสินค้าให้อยู่กับที่ ไม่ทำให้เกิดรอยขีดข่วนเสียหาย บางผู้รับจ้างมักใช้รถปิ๊กอัพตู้ทับในการรับจ้างขนย้ายไปยังที่ต่าง ๆ เพื่อป้องกันน้ำและฝุ่นหรือวัตถุชิ้นเล็ก ๆ ในท้องถนนทำให้เกิดความเสียหาย

  • ก๊าซและสารเคมีอุตสาหกรรม โดยปกติมักเป็นรถยนต์ที่ได้รับใบอนุญาต/ใบขับขี่ในการขนส่งเท่านั้น เนื่องจากเป็นวัตถุอันตราย


กฎหมายที่เกี่ยวข้องช่วยให้เราระมัดระวังและไม่ถูกจับปรับ


กฎหมายที่เกี่ยวข้องช่วยให้เราระมัดระวังและไม่ถูกจับปรับ

ตามกฎหมายรถกระบะขนาด 1 ตัน สามารถบรรทุกของได้ไม่เกิน 1,000 กก. หรือ 1 ตัน ตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 หากต้องการบรรทุกหนักเกินกว่านั้น เจ้าของรถต้องติดต่อสำนักงานขนส่ง เพื่อยื่นเรื่องขออนุญาตดัดแปลง อาทิ เปลี่ยนเพลา เสริมแหนบ เปลี่ยนกระทะล้อ เพื่อให้บรรทุกน้ำหนักได้มากขึ้นอย่างปลอดภัย และถูกต้องตามกฎหมาย


ต้องคำนึงถึงความกว้าง ความยาว และความสูง ของสิ่งที่บรรทุกด้วย โดยจะมีกฎข้อห้ามการบรรทุกตาม พ.ร.บ. รถยนต์ ปี 2522 มาตรา 5 และมาตรา 15 ระบุไว้ว่า ต้องบรรทุกของไม่เกินความกว้างขอตัวรถ ส่วนความยาวด้านหน้ายื่นได้ไม่เกินฝากระโปรงหน้ารถ และด้านหลังเลยตัวรถได้ไม่เกิน 2.5 เมตร ขณะที่ความสูงวัดจากพื้นถนนแล้วต้องไม่เกิน 3.8 เมตร


ถ้าจำเป็นต้องบรรทุกเกินความยาวของตัวรถ ต้องติดธงสีแดงเรืองแสงทรงสีเหลี่ยมผืนผ้าขนาด 30x45 ซม. ไว้ปลายสิ่งของที่บรรทุกมา เช่นเดียวกันในตอนกลางคืนต้องมีการติดสัญญาณไฟสีแดงที่สามารถมองเห็นได้ชัดในระยะ 150 เมตร รวมถึงต้องมีเชือกหรือสายรัดในการผูกมัดสิ่งของเอาไว้อยู่กับรถ และต้องมั่นใจว่ามีการผูกเอาไว้อย่างแน่นหนา ป้องกันการตกหล่นและรั่วไหลของสิ่งของที่บรรทุก เพราะอาจสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นได้


ใบขับขี่ไม่ได้ใบเดียวกับที่ใช้ขับขี่ทั่วไป


ใบขับขี่ทั้งแบบใบอนุญาตขับขี่รถส่วนบุคคล และใบอนุญาตขับขี่รถทุกประเภท แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะรถ น้ำหนักรถและการใช้งานรถ ได้แก่ ใบขับขี่ประเภท 1, ใบขับขี่ประเภท 2, ใบขับขี่ประเภท 3 และใบขับขี่ประเภท 4 สามารถใช้ใบขับขี่ประเภทที่สูงกว่าแทนใบขับขี่ประเภทที่ต่ำกว่าได้กรณีต้องการขับรถที่นอกเหนือจากใบขับขี่ที่มีอยู่



ตัวอย่างใบขับขี่ประเทศไทย


ใบขับขี่ประเภท 1

ใบขับขี่ประเภท 1 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่น้ำหนักรถและน้ำหนักรถบรรทุกรวมกันไม่เกิน 3,500 กิโลกรัมที่ไม่ได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกิน 20 คน ได้แก่ ใบขับขี่ บ.1 และใบขับขี่ ท.1 ใช้ขับรถแท็กซี่ หรือรถตู้ มีอายุการใช้งาน 3 ปี ผู้ยื่นขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี และต้องสอบขับรถตามชนิดใบอนุญาต


ใบขับขี่ประเภท 2

ใบขับขี่ประเภท 2 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่มีน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า 3,500 กิโลกรัม ที่ไม่ได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือสำหรับรถขนส่งผู้โดยสารเกินกว่า 20 คน ได้แก่ ใบขับขี่ บ.2 และใบขับขี่ ท.2 ใช้ขับรถเมล์, รถบัส, รถบรรทุกสินค้า หรือรถ 6 ล้อ มีอายุการใช้งาน 3 ปี โดยผู้ยื่นขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี และต้องสอบขับรถตามชนิดใบอนุญาต


ใบขับขี่ประเภท 3

ใบขับขี่ประเภท 3 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับลากจูงรถอื่นหรือล้อเลื่อนที่บรรทุก ได้แก่ ใบขับขี่ บ.3 และใบขับขี่ ท.3 ใช้ขับรถพ่วง, รถ 10 ล้อ หรือรถ 6 ล้อ มีอายุการใช้งาน 3 ปี โดยผู้ยื่นขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี ต้องเข้ารับการอมรมหลักสูตรความปลอดภัยตามที่กำหนด และต้องสอบขับรถลากจูง พร้อมรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วง


ใบขับขี่ประเภท 4

ใบขับขี่ประเภท 4 คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ ใบขับขี่ บ.4 และใบขับขี่ ท.4 ใช้ขับรถขนส่งเคมี, รถบรรทุกเชื้อเพลิง มีอายุการใช้งาน 3 ปี โดยผู้ยื่นขอต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี ต้องเข้ารับการอมรมหลักสูตรความปลอดภัยตามที่กำหนด และต้องสอบขับรถลากจูง พร้อมรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วง


พบกับข่าวสารล่าสุดทาง LINE! มาเช็คข่าวสารและโปรโมชันดีๆ ใน LINE กัน

เพิ่มบัญชีทางการเป็นเพื่อนได้ผ่านลิงก์ด้านล่าง


 

อ้างอิงข้อมูล

bottom of page