top of page
Isuzu Hock An Tueng อีซูซุฮกอันตึ๊ง
  • รูปภาพนักเขียนHock Tiger

ถ้ายางรถเรามีลักษณะผิดปกติเหล่านี้ แล้วจะใช้ต่อไปดีไหมนะ ?


ถ้ายางรถเรามีลักษณะผิดปกติเหล่านี้ tแล้วจะใช้ต่อไปดีไหมนะ ?

ยางรถยนต์ถือเป็นอะไหล่เพียงอย่างเดียวที่ทำหน้าที่สัมผัสกับพื้นผิวของถนน มีความสามารถในการยึดเกาะพื้นผิวแตกต่างกันไปตามชนิดของหน้ายาง ทั้งนี้แม้ว่ายางรถยนต์จะถูกออกแบบให้มีความทนทาน แต่ยางรถยนต์ทุกเส้นมีการสึกหรอ อายุการใช้งาน แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมการขับขี่ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่ายางรถยนต์ของเราถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนได้แล้ว ลองสำรวจยางรถยนต์ของเราดูว่าสภาพยางตรงกับลักษณะเหล่านี้หรือไม่



ดอกยางสึกหรอ ดอกร่องยางตื้น


ยางรถยนต์เส้นใหม่ในปัจจุบันที่มีสะพานยาง

ความลึกของร่องดอกยางคือ ค่าที่วัดได้จากจุดต่ำสุดของร่องดอกยางไปจนถึงผิวหน้ายาง โดยปกติยางรถยนต์ที่ผลิตในปัจจุบันจะมีตัวบอกสภาพดอกยาง(หรือเรียกอีกอย่างว่าสะพานยาง) มีลักษณะเป็นสันนูนคล้ายสะพานที่เชื่อมร่องดอกยางให้ติดกัน เมื่อดอกยางสึกหรอถึงระดับตัวบอกสภาพในร่องดอกยางแล้ว อาจต้องพิจารณาเปลี่ยนยางรถยนต์ใหม่ หรืออีกวิธีหนึ่งในการสังเกตคือใช้ไม้ขีดไฟทิ่มลงไปในร่องยาง ถ้าเห็นหัวไม้ขีดหมายถึงดอกยางเหลือน้อยเกินไปที่จะใช้งานได้ต่อไป เพราะหากดอกยางตื้นจนเกินไปจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการรีดน้ำของดอกยาง รวมไปถึงการยึดเกาะถนนที่ลดลงไปตามความลึกของดอกยางที่สูยเสียไปจากการใช้งาน ควรตรวจเช็กตามระยะทางและสลับยาง ทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสึกหรอนอกจาการใช้งานแล้ว การเติมลมยางไม่เหมาะสม และการตั้งศูนย์ล้อที่ไม่ปกติ ก็ส่งผลโดยตรงต่อหน้ายางด้วยเช่นกันโดยมีจุดสังเกตดังนี้

  • ขอบด้านนอกหรือขอบด้านในสึกมากกว่า – เกิดจากการตั้งศูนย์ล้อ มุมบังคับเลี้ยว (มุม Toe) ไม่สมดุล

  • หน้ายางด้านในหรือด้านนอกสึกมากกว่า – เกิดจากการตั้งศูนย์ล้อแนวตั้ง (มุม Camber) ไม่ถูกต้อง

  • ส่วนกลางของหน้ายางสึกหรอเป็นพิเศษ – เกิดได้จากแรงดันลมยางที่มากเกินไป

  • ส่วนขอบของหน้ายางทั้งด้านในและด้านนอกสึกหรอเป็นพิเศษ – บริเวณขอบทั้งสองด้านสึกมากเป็นพิเศษ เกิดจากแรงดันลมยางน้อยเกินไป


ข้อสังเกตระดับความลึกของดอกยางให้พิจารณาในการใช้งาน

  • 6-8 มม. หรือมากกว่า 8 มม. นั้น เป็นความลึกของร่องยางที่เหมาะสม

  • 4-5 มม. เป็นลักษณะที่ดอกยางหมดไปแล้วประมาณ 50% ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ แต่แนะนำให้คอยหมั่นตรวจเช็ค

  • 3 มม. เป็นความลึกของดอกยางที่สมควรเปลี่ยน และจะต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากในการขับขี่บนถนนที่เปียก

  • 1.6 มม. สภาพความลึกที่เหลือเพียงเท่านี้คือดอกยางหมดเกือบ 100% ไม่ควรใช้งานต่ออาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย


ผิวยางบวมบูด


ยางรถยนต์บวมปูด

รอยนูนบนยางรถบ่งบอกถึงโครงสร้างภายในยางรถยนต์ได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจเกิดจากการกระทบกับขอบถนน ตกหลุมบ่อหรือชนกับเกาะกลางถนนด้วยความเร็วสูงหรือขับผิดมุม ผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าวทำให้โครงยางรับแรงกระแทกมากเกินไป ซึ่งส่งผลให้ลวดใยเหล็กเส้นฉีกขาด การบวมของยางส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณแก้มยาง แนะนำว่าควรเปลี่ยนยางทันทีเนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดระเบิดได้หากขับขี่ต่อไปอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย


เนื้อยางแข็งมีรอยแตก หรือแตกลายงา


ยางรถยนต์มีรอยแตกลายงา

อายุใช้งานสูงสุดของยางไม่ควรเกิน 4 – 5 ปี ดูอายุของยางรถยนต์สามารถดูได้ที่ตัวเลขสี่หลักที่ประทับบนแก้มยาง โดยเลขสองตัวแรกบ่งบอกสัปดาห์ที่ผลิต ขณะที่ตัวเลขสองตัวหลังบอกปีทีผลิต วิธีการตรวจเช็คโดยง่ายก็คือ ใช้เล็บมือลองจิกลงบนหน้ายาง ถ้าหากว่าจิกลงไปแล้ว ไม่ทิ้งรอยเล็บ แสดงว่าหน้ายางหมดอายุแล้ว หรือสังเกตอาการแตกลายงาของผิวยาง เมื่อหน้ายางหมดอายุ หน้ายางจะเริ่มแข็ง ประสิทธิภาพของยางจะขาดความนิ่มและความยืดหยุด เบรกเริ่มมีเสียงดัง และระยะเบรกไม่ดี ควรเปลี่ยนทันทีโดยไม่ต้องคำนึงถึงการสึกของดอกยางแต่อย่างใด


ตำแหน่งรั่วของยาง


ตำแหน่งรอยรั่วของยางบนหน้ายาง

เมื่อยางเกิดรั่ว หลายคนนิยมใช้วิธีปะยางแทนการเปลี่ยนยางทั้งเส้น แต่ควรตระหนักว่าการปะยางควรทำในบริเวณที่รอยรั่วมีขนาดไม่เกิน 1 ใน 4 นิ้วและเกิดขึ้นบริเวณหน้ายางเท่านั้น และหากเกิดการรั่วหรือฉีกขาดบริเวณแก้มยางควรเปลี่ยนยางเส้นนั้นแทนการใช้งานต่อที่อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้


ซึ่งหากมีอาการเปล่านี้แล้ว ถึงเวลาต้องเปลี่ยนยางรถยนต์ หลาย ๆ คนมีความสงสัยคือ ควรเปลี่ยนยางเฉพาะเส้นที่เสื่อมสภาพ หรือควรเปลี่ยนยางรถ 2 หรือทั้ง 4 เส้นในครั้งเดียว คำตอบคือ ควรเปลี่ยนพร้อมกันยกชุด เพราะการเปลี่ยนยางทีละเส้นจะทำให้คุณภาพยางไม่สมดุลส่งผลกระทบต่อการขับขี่ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งานของยางเส้นอื่น ๆ ที่เหลือว่าเหมาะสมที่จะเปลี่ยนทั้งหมด หรือการพิจารณาของศูนย์บริการ




อ้างอิงข้อมูล

bottom of page